วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ติวชีวะ

ผ่าตัดปลา

โครงสร้างเซลล์พืช

โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์
พืชและสัตว์ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหมือนกัน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีขนาด รูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของหน้าที่ แต่โครงสร้างพื้นฐานหรือองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

โครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์สัตว์

โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์พืช

โครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืช

โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์
1. ผนังเซลล์ (cell wall) พบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1665 โดยโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ผนังเซลล์พบในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน


2. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบเซลล์ ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน มีหน้าที่ช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นส่วนที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่นสามารถยืดหดได้มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ มีรูพรุนสำหรับให้สารละลายผ่านเข้าออกได้ เช่น น้ำ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ยูเรีย กรดอะมิโน เกลือแร่ ออกซิเจน และกลีเซอรอลสามารถผ่านเข้าออกได้ง่าย ส่วนสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลย เช่น สารพวกโปรตีนและไขมัน จึงเรียกเยื่อที่มีลักษณะแบบนี้ว่า เยื่อกึ่งซึมผ่านได้ (semipermeable membrane หรือ selective permeable membrane)


3. ไซโทพลาซึม (cytoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายเจลลี่ซึ่งมีน้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึม (metabolism) ทั้งกระบวนการสร้างและการสลายอินทรียสาร เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่จะช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้


4. นิวเคลียส (nucleus) อยู่ในไซโทพลาซึม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเซลล์ ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกหลาน ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต


5. คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวของพืชและเซลล์ของโพรทิสต์บางชนิด เช่น สาหร่าย คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมชนิดและปริมาณของสารที่ผ่านเข้าและออกจากคลอโรพลาสต์ ส่วนชั้นในจะมีลักษณะยื่นเข้าไปภายในและมีการเรียงกันเป็นชั้นๆ อย่างมีระเบียบ ภายในเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโมเลกุลของสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) และมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาหาร

ตารางแสดงส่วนประกอบที่เหมือนกันและแตกต่างกันของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

เซลล์พืช
เซลล์สัตว์

1. มีผนังเซลล์
2. มีคลอโรพลาสต์
3. มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ที่มีของเหลวบรรจุอยู่
4. มีนิวเคลียสอยู่ข้างเซลล์

1. ไม่มีผนังเซลล์
2. ไม่มีคลอโรพลาสต์
3. มีแวคิวโอลขนาดเล็กหรือไม่มีแวคิวโอล
4. มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์

โครงสร้างเซลล์


เรื่อง เซลล์

เซลล์คือ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่สามารถแสดงคุณสมบัติและความ เป็นสิ่งมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ และมีส่วนช่วยในการสร้างและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์

โครงสร้างเซลล์

1. นิวเคลียส (nucleus)

เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม

โครงสร้างของนิวเคลียสประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1.เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อบางๆ2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาซึมและนิวเคลียส

2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป

3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ

2.ไซโทพลาซึม(cytoplasm)

เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ

1. เอกโทพลาซึม (ectoplasm)เป็นส่วนของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะบางใส เพราะ
มีส่วนประกอบต่างๆของเซลล์อยู่น้อย

2. เอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นชั้นของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านในใกล้นิวเคลียสชั้นนี้จะมีลักษณะที่เข้มข้นกว่า เนื่องจากมี ออร์แกเนลล์(organelle)และอนุภาคต่างๆ

ไซโทพลาซึมนอกจากแบ่งออกเป็น 2 ชั้นแล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ

ก.ออร์แกเนลล์(organelle) เป็นส่วนที่มีชีวิตทำหน้าที่คล้ายๆกับเป็นอวัยวะของเซลล์

ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม(membraneboundedorganelle)

1.ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว มีหน้าที่ของไมโทคอนเดรียคือเป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์โดยการหายใจ

2. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม (endoplasmic reticulum:ER) เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้มประกอบด้วย
โครงสร้างระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์แบ่งออกเป็น2 ชนิดคือ

2.1 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER) เป็นชนิดที่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ
การสังเคราะห์โปรตีนของไรโบโซมที่เกาะอยู่ และลำเลียงสารซึ่งได้แก่โปรตีนที่สร้างได้และสารอื่นๆ

2.2 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum:SER) เป็นชนิดที่ไม่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ
ลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิดโปรตีนสังเคราะห์สารพวกไขมันและสเตอรอยด์ฮอร์โมน

3. กอลจิ บอดี (Golgi body) มีรูปร่างลักษณะเป็นถุงแบนๆ มีหน้าที่สำคัญคือ
เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์

4. ไลโซโซม (lysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้มเพียงชั้นเดียว

5. แวคิวโอล (vacuole) แวคิวโอลเป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นต่ำ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

5.1 ลิวโคพลาสต์(leucoplast)เป็นพลาสติดที่ไม่มีสี

5.2 โครโมพลาสต์(chromoplast) เป็นพลาสติดที่มีรงควัตถุสีอื่นๆนอกจากสีเขียว

5.4 คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นพลาสติดที่มีสีเขียว

ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม(nonmembraneboundedorganelle)

1. ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็ก เซลล์เหล่านี้จะสร้างโปรตีนที่นำไป
ใช้นอกเซลล์เป็นสำคัญ

2. เซนทริโอล (centriole) มีลักษณะคล้ายท่อทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงสารในเซลล์

ข. ไซโทพลาสมิก อินคลูชัน (cytoplasmic inclusion) หมายถึง สารที่ไม่มีชีวิตที่อยู่ใน

ไซโทพลาสมิก เช่น เม็ดแป้ง

3.ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์

1.เยื่อหุ้มเซลล์(cellmembrane)

เยื่อหุ้มเซลล์มีความหนาประมาณ 75 อังสตรอม ประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ลิพิด เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่หลายประการคือ

1.ห่อหุ้มส่วนของโพรโทพลาซึม

2. ช่วยควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ ระหว่างภายในเซลล์และสิ่งแวดล้อม

3. เยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่รับสัมผัสสาร

2. ผนังเซลล์ (cell wall)

ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์